วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

เรื่องที่อาจารย์สอนในห้องเรียน

วันนี้ไม่มีกิจกรรมการเรียนการสอน
*เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาคเรียน



วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

เรื่องที่อาจารย์สอนในห้องเรียน

วันนี้ไม่มีกิจกรรมการเรียนการสอน
* อาจารย์ให้ทำงานที่สั่งในอาทิตย์ที่ผ่านมาให้เสร็จ



วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

เรื่องที่อาจารย์สอนในห้องเรียน
 1.อาจารย์ให้ส่งงาน(แผนการจัดประสบการณ์)
2.อาจารย์ชี้แจงเรื่องการจะไปศึกษาดูงานที่ต่างจังหวัด
3.อาจารย์ให้ทุกคนหยิบกล่องขึ้นมาแล้วอาจารย์ก็ถามว่า
  -  เห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร
  - อยากจะให้กล่องเป็นอะไร
  - จะสามารถนำกล่องไปทำอะไรได้บ้าง
4. การกำหนดสาระการเรียนรู้ต่างๆ
  - ใกล้ตังเด็ก
  - เด็กสนใจ
  - มีความสัมพันธ์กับเด็ก
  - เป็นตัวเชื่อมโยงไปสู่สาระอื่น
  - มีผลกระทบกับเด็ก
5.การสร้างสื่อ
  - มีหลักว่าจะสร้างอะไร
  - ประหยัด
  - ใช้ได้หลายครั้ง
  - การประยุกต์ใช้วัสดุต่างๆ
6.อาจารย์ให้จับกลุ่ม 10 คน แล้วนำกล่องมาต่อกันโดยไม่มีการวางแผนกัน
7.การต่อกล่องเด็กจะได้
  - การคิด
  - การแก้ปัญหา
8.อาจารย์ให้ต่อกล่องโดยมีการวางแผนกัน
  


8.อาจารย์ให้ต่อกล่องโดยมีการวางแผนกัน
                                                     



วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

เรื่องที่อาจารย์สอนในห้องเรียน

1.อาจารย์สอบถามเรื่องการเข้าร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติ

2.อาจารย์ให้ส่งงานขอบข่ายคณิตศาสตร์ที่มอบหมายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

3.อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานที่ส่ง
4. 20 นาทีของการเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กให้บูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไป เช่น
                หน่วย... ไข่
วันจันทร์   สอนเรื่อง ...ชนิดของไข่
วันอังคาร  สอนเรื่อง...ลักษณะของไข่
วันพุธ        สอนเรื่อง...ประโยชน์(ในตัวของมันเอง)
วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง...ประโยชน์(ในการประกอบอาหาร)
วันศุกร์     สอนเรื่อง...ข้อควรระวัง,การขยายพันธ์,การดูแลรักษา





 

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


เรื่องที่อาจารย์สอนในห้องเรียน


1. อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ทำ mind mapping  ของกลุ่มตัวเองส่งเป็นรายบุคคล
2.อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ mind mapping 
3.อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน 12 หัวข้อ  ได้แก่
  3.1 การนับ
  3.2 ตัวเลข
  3.3 การจับคู่
  3.4 การจัดประเภท
  3.5 การเปรียบเทียบ
  3.6 การเรียงลำดับเหตุการณ์
  3.7 รูปทรง
  3.8 เศษส่วน
  3.9 การวัด
  3.10 เซต
  3.11 การทำตามแบบ
  3.12 การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
4. อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานที่ส่งเป็นกลุ่ม

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

เรื่องที่อาจารย์สอนในห้องเรียน


1. ร้องเพลง  โบ เล๊ โบ ลา  

โบ เล๊ โบ เล๊ โบ ลา  
โบ เล โบ เล โบ ลา
เด็กๆยื่นสองแขนมา
มือซ้ายขวาทำเป็นคลื่นทะเล
ปลาวาฬพ่นน้ำเป็นฝอย
ปลาเล็ก ปลาน้อยว่ายตาม
ปลาวาฬนับ 1 2 3
ใครว่ายตามปลาวาฬจับตัว

2.  อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่งงานพร้อมทั้งนำไปติดไว้ที่กระดานหน้าห้อง
3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาปฐมวัย  (อาจารย์ นิตยา)
  3.1 การนับ (Counting)
  3.2ตัวเลข(Number)
  3.3 การจับคู่ (Matching)
  3.4 การจัดประเภท (Classicfication)
  3.5 การเปรียบเทียบ (Comparing)
  3.6 การจัดลำดับ (Ordering)
  3.7 รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space)
  3.8 การวัด (Measurement)
  3.9 เซต (Set)
  3.10 เศษส่วน 
  3.11 การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
  3.12 การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)

4.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาปฐมวัย (อาจารย์ เยาวพา เตชะคุปต์)
  4.1 การจัดกลุ่มหรือเซต 
  4.2 จำนวน 1-10
  4.3 ระบบจำนวน (Number System)
  4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
  4.5 คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
  4.6 ลำดับที่ 
  4.7 การวัด
  4.8 รูปทรงเลขาคณิต
  4.9 สถิติและกราฟ

 
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ (2542 : 14-18) กล่าวถึงขอบเขตของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้
 1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำพังตั้งแต่ 1 ถึง 10 หรือ มากกว่านั้น

 2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม

 3.การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หริออยู่ในประเภทเดียวกัน

 4.การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดประเภทต่างๆได้

 5.การเปรียบเทียบ เด็กต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ

 6.การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว เป็นต้น

 7.รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้างและแคบ

 8.การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตัวเอง ให้รู้จักความยาว และระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณค่าอย่างคร่าวๆก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาก่อน

 9.เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่ายๆจากสิ่งรอบๆตัวมีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องนอนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น

 10.เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต้ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม ให้เด็กเห็นก่อนการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอด

 11.การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กได้จดจำรูปแบบ หรือ ลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กได้ฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์

 12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บาง โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายหรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม